วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

อาหารฮาลาล

 



รายการเล่าเรื่องเมืองใต้ อาหารฮาลาล ช่วง2 28 08 54

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทบัญญัติและหลักการต่างๆ ที่เกี่ยวกับอาหารฮาลาล

บทบัญญัติที่เกี่ยวกับอาหารฮาลาล

ความหมายของ ฮาลาล ( حلال / Halal) หมายถึง สิ่งที่อนุมัติตามบทบัญญัติอิสลาม ซึ่ง
ตรงข้ามกับหะรอม หมายถึง สิ่งที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติอิสลาม
บทบัญญัติที่เกี่ยวกับอาหารเพื่อการบริโภคนั้นมี 3 ประเภท คือ
- อาหารฮาลาล หมายถึง อาหารที่อนุมัติ
- อาหารหะรอม หมายถึง อาหารที่ไม่อนุมัติ
- อาหารมัชบูฮฺ หรือ ชุบฮาต หมายถึง อาหารที่ยังมีข้อเคลือบแคลงหรือน่าสงสัย ที่ยังไม่
สามารถระบุได้ว่าฮาลาลหรือหะรอม จนกว่าจะผ่านการตรวจสอบ พิสูจน์ และวินิจฉัย ซึ่งตามหลักการแล้วให้หลีกเลี่ยง





หลักการต่างๆ เกี่ยวกับอาหารฮาลาล

1. ฮาลาลด้วยตัวของมันเอง ลักษณะฮาลาล ณ ที่นี้ หมายถึง
- ต้องไม่เป็นนะญิส(สิ่งสกปรก) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1) นะญิส มุค็อฟฟะฟะฮฺ (เบา) ได้แก่ ปัสสาวะเด็กชายอายุไม่เกินสองปีที่กินแต่นมแม่
2) นะญิส มุตะวัสสิเฏาะฮฺ (ปานกลาง) ได้แก่ อุจจาระ ปัสสาวะ เลือด มูลสัตว์ ซากสัตว์ และอื่นๆ
3) นะญิส มุฆ็อลละเซาะฮฺ (หนัก) ได้แก่ สุกรและสุนัข
- ต้องไม่เป็นสัตว์ที่มีเขี้ยว งา และกรงเล็บที่แข็งแรง และใช้อวัยวะดังกล่าวนั้นในการหา
อาหาร เช่น สิงโต เสือ หมี ช้าง และสัตว์อื่น ๆที่มีลักษณะคล้ายกันนี้รวมถึงนกทุกชนิดที่มีกรง
เล็บ เช่น แร้ง เหยี่ยว เป็นต้น
- ต้องไม่เป็นสัตว์ที่ไม่อนุญาตให้ฆ่าตามหลักการศาสนาอิสลาม เช่น มด และนกหัวขวาน
- ต้องไม่เป็นสัตว์ที่พิจารณาโดยทั่วไปแล้วว่าเป็นสัตว์ที่น่ารังเกียจ เช่น เหา แมลงวัน
หนอน ค้างคาว และสัตว์อื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน
- ต้องไม่เป็นสัตว์เลื้อยคลานหรือมีพิษร้าย เช่น กิ้งก่า งู และและสัตว์อื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน
- ต้องไม่เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ  อัลลอฮฺได้ตรัสในบทที่ 2 อัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 173  ความว่า "แท้ริงพระองค์ทรงห้ามรับประทานซากสัตว์ เลือด เนื้อสุกรและสัตว์ที่เชือดเพื่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ"   ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าว ความว่า "ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้ห้ามรับประทานสัตว์ที่มีเขี้ยวและนกที่มีกรงเล็บ" (บันทึกโดยมุสลิม 3574)

2.วิธีการได้มาอาหารดังกล่าวก็ต้องฮาลาล
ท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าว ความว่า "แท้จริงอัลลอฮฺทรงโปรดสิ่งที่ดี ดังนั้นพระองค์จะไม่ทรงตอบรับ ยกเว้นสิ่งที่ดีเท่านั้น" (บันทึกโดยมุสลิม ในกิตาบอัซซะกาต บาบเกาะบูลเศาะดะเกาะฮฺมินัลกัสบิฏฏ็อยยิบ)

3.ต้องเป็นสิ่งที่มีประโยชน์
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า ความว่า "และจงบริโภคจากสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงให้เครื่องยังชีพแก่สู่เจ้า
ซึ่งสิ่งที่อนุมัติและที่ดีมีประโยชน์และจงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ผู้ซึ่งพวกเจ้าศรัทธาในพระองค์"
(อัลมาอิดะฮฺ : 88)

4. ต้องมีความสะอาด ไม่มีสิ่งเจือปนจากนะญิส
อิสลามถือว่าอาหารที่ฮาลาลจะต้องเป็นอาหารที่ อัลลอฮฺอนุมัติสามารถบริโภคได้ และ
ต้องไม่ปนเปื้อนสิ่งที่เป็นนะญิสหรือสิ่งสกปรกใดๆ อิสลามได้กำหนดน้ำที่จะต้องชำระล้างวัตถุดิบ
ที่จะเอาไปประกอบเป็นอาหารจะต้องเป็นน้ำสะอาด และเป็นน้ำที่อนุญาตให้ใช้ได้ตลอดจนได้
กำหนดกฎเกณฑ์ วิธีการชำระล้างที่ละเอียดเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด

5.ต้องผ่านกระบวนการเชือดที่ถูกต้องตามหลักการ
สัตว์บกและสัตว์ปีกทุกชนิดที่ได้รับการอนุมัติให้บริโภคได้นั้นจะต้องผ่านกระบวนการเชือด
ที่ถูกต้องตามหลักการอิสลามก่อนจะนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล ดังนั้นสัตว์บก
หรือสัตว์ปีกที่ตายเอง เป็นโรคตาย ถูกรถชนตาย ถูกตีตาย ตกเขาหรือจากที่สูงตาย ฯลฯ รวมถึงที่
ถูกเชือดโดยผู้อื่นที่มิใช่มุสลิมหรือมิได้กล่าวด้วยพระนามของอัลลอฮฺถือว่าเป็นซากสัตว์ ซึ่งอิสลาม
ถือว่าหะรอมนำมาบริโภคไม่ได้

6.อุปกรณ์ ภาชนะที่บรรจุอาหารและสถานที่ในการผลิตต้องสะอาดเช่นกัน
อิสลามยัง ได้กำหนดถึงสถานที่และ ภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง
กับกระบวนการผลิตอาหารต้องสะอาดด้วย ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าว
ความว่า "ถ้าหากสุนัขเลียภาชนะของพวกท่าน ก็จงล้างด้วยน้ำเจ็ดครั้ง โดยครั้งแรกให้ล้างด้วยน้ำผสมดิน" (บันทึกโดยอันนะซาอีย์ 337)
ท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าว ความว่า "ท่านอะบี ษะอฺละบะฮฺ  ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมว่า เรามีเพื่อนบ้านเป็นชาวคัมภีร์ ซึ่งพวกเขาจะนำเนื้อ
สุกรมาทำอาหารในหม้อของเขา และใช้ภาชนะใส่สุราเพื่อดื่มกิน ท่านจึงตอบว่า ถ้าหากท่าน
สามารถหาภาชนะอื่นได้ก็ใช้ภาชนะอื่นไว้ดื่มกิน แต่หากไม่มีก็จงนำภาชนะดังกล่าวมา
ชำระล้างให้สะอาด และใช้ดื่มกินได้" (บันทึกโดยอบู ดาวูด อัล-อัลบานีย์ กล่าวว่าเศาะฮีหฺ ดูในเศาะฮีหฺ อบี ดาวูด เล่ม  2 หน้า 727)

7. ผู้ประกอบอาหารควรเป็นมุสลิมหรือผู้ที่มีความเข้าใจในหลักการอิสลาม
ท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าว ความว่า "ท่านอะบี ษะอฺละบะฮฺ ถามท่านน
บีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมว่า โอ้ท่านรอซูล ภาชนะของผู้ที่ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ เราสามารถ
นำมาใช้ในการทำอาหารได้หรือไม่ ท่านจึงตอบว่า  ท่านจงอย่านำมาใช้ในการทำอาหาร เขา
กล่าวว่า ถ้าหากเรามีความจำเป็นและเราก็ไม่มีภาชนะอื่นอีกแล้ว ท่านจึงตอบว่า ท่านจงนำภาชนะดังกล่าวมาชำระล้างให้สะอาด หลังจากนั้นก็จงใช้ในการทำอาหารและรับประทานอาหารได้" (บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ อัล-อัลบานีย์ กล่าวว่าเศาะฮีหฺ ดูในเศาะฮีหฺอิบนุมาญะฮฺ เล่ม2 หน้า 134)

8. ต้องคำนึงถึงความประหยัดหรือความพอดี
อัลลอฮฺได้ตรัสในอัลกุรอาน ความว่า "และพวกเจ้าทั้งหลายจงกิน จงดื่ม และจงอย่าฟุ่มเฟือย แท้จริงพระองค์ทรงไม่รักผู้ที่ฟุ่มเฟือย"  (อัลอะอฺรอฟ โองการที่ 31)

9. ต้องชูกูรฺ(ขอบคุณ) ต่ออัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้าที่ได้ทรงประทานอาหารให้
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า ความว่า "บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า จากสิ่งดี ๆ ทั้งหลาย และจงขอบคุณอัลลอฮฺเถิด พระองค์เท่านั้น ที่พวกเจ้าจะต้องเคารพสักการะ"  (อัลบาเกาะเราะฮฺ โองการที่ 172)
พระองค์ตรัสอีกว่า ความว่า "และเมื่อพระผู้อภิบาลของพวกเจ้าได้ประกาศว่า หากพวกเจ้าของคุณ แน่แท้ข้าก็จะเพิ่มพูนแก่พวกเจ้า" (อิบรอฮีม โองการที่ 7)

10. รู้จักใช้หลักการ รุคเศาะฮฺ(การผ่อนปรน) ในภาวะจำเป็นเพื่อรักษาชีวิต
อิสลามได้กำหนดทางออกไว้ในภาวะที่จำเป็น (เฎาะรูเราะฮฺ) โดยกำหนดหลักการ รุคเศาะฮฺ (การผ่อนปรน) ซึ่งจะเกิดความยากลำบากหรือถึงขั้นสูญเสียชีวิตหากปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ได้กำหนดในภาวะปกติ เช่น การรับประทานอาหารที่หะรอมเพื่อประทังชีวิตโดยไม่ละเมิดขอบเขต อัลลอฮฺได้ตรัสในบทที่ 2 อัลบะเกาะเราฮฺ โองการที่ 173  ความว่า "แท้จริงพระองค์ทรงห้ามรับประทานซากสัตว์ เลือด เนื้อสุกรและสัตว์ที่เชือดโดยมิได้กล่าวนามอัลลอฮฺ แต่หากผู้ใดก็ตามมีความจำเป็น โดยมิได้ตั้งใจและละเมิด ก็ไม่เป็นการบาปสำหรับเขา"

ความหมายและตราฮาลาล

ฮาลาล

(อาหรับ: حلال‎) (บ้างสะกดว่าหะลาล หรือ ฮาลาล) เป็นศัพท์นิติศาสตร์อิสลามจากภาษาอาหรับ คือกฏบัญญัติอนุมัติให้มุกัลลัฟ (มุสลิมที่อยู่ในศาสนนิติภาวะ) กระทำได้ อันได้แก่ การนึกคิด วาจา และการกระทำที่ศาสนาได้อนุมัติให้ เช่น การรับประทานเนื้อปศุสัตว์ที่ได้รับการเชือดอย่างถูกต้อง การค้าขายโดยสุจริตวิธี การสมรสกับสตรีตามกฏเกณฑ์ที่ได้ระบุไว้ เป็นต้น
ในเมืองไทย คำว่า ฮาลาล เป็นที่รู้จักในความหมาย อาหาร หรือสิ่งเจือปนที่ไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม อาหารสำเร็จรูปประเภทนี้จะมีตราฮาลาล
ตราสัญลักษณ์ฮาลาล



ตราฮาลาล

คือตราที่ติดบนสลากผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นที่ฮะลาล (อนุมัติ) สำหรับมุสลิมใช้บริโภค โดยจะมีคำว่า "ฮาลาล" (อาหรับ: حلال‎) เป็นภาษาอาหรับประทับอยู่ ผู้ออกฮาลาลในประเทศไทยคือคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย


องค์ประกอบของตราสัญลักษณ์ฮาลาล


อาหารฮาลาล

อาหารฮะลาล หรือฮาลาล คืออาหารที่ไม่มีสิ่งต้องห้ามเจือปน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อสัตว์นั้นจะต้องเป็นเนื้อฮะลาล และไม่เจือปนสิ่งฮะรอมเช่น เหล้า หรือไขมันหมู เป็นต้น เนื้อสัตว์ หรือ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ที่ฮะลาล จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสัตว์นั้นผ่านการเชือดที่ถูกต้องตามแนวทางอิสลามดังต่อไปนี้
  1. ผู้เชือดเป็นมุสลิมที่เข้าใจ และรู้วิธีการเชือดแบบอิสลามอย่างแท้จริง
  2. สัตว์ที่จะนำมาเชือดจะต้องไม่เป็นสัตว์ต้องห้าม เช่น สุกร สัตว์ที่ล่าหรือบริโภคสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น เสือ สุนัข สัตว์ปีกที่ล่าหรือบริโภคสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น เหยี่ยว อินทรีย์ สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู
  3. สัตว์ยังมีชีวิตขณะทำการเชือด
  4. การเชือดต้องเริ่มต้น ด้วยการเปล่งคำว่า "บิสมิลลาฮฺ" อันมีความหมายว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ
  5. การเชือดโดยใช้มีดคมตัดเส้นเลือดใหญ่ หลอดลม หลอดอาหาร ที่ลำคอให้ขาดจากกัน เพื่อให้สัตว์ตายโดยไม่ทรมาน
  6. สัตว์ต้องตายสนิทก่อนที่จะแล่เนื้อ หรือดำเนินการใด ๆ ต่อไป
ชนิดของสัตว์ที่มุสลิมนำมาบริโภคได้ ได้แก่ สัตว์บก เช่น แพะ แกะ โค กระบือ อูฐ กวาง ฯลฯ และสัตว์น้ำจำพวกปลา ปู กุ้ง หอย และสัตว์ทะเลทั้งหมด ส่วนสัตว์ที่ไม่สามารถบริโภค (ฮะรอม; Haram) ได้แก่ สุกร สุนัข หมูป่า งู ลิง สัตว์มีกรงเล็บ สัตว์มีพิษหรือสัตว์นำโรค สัตว์ที่ไม่อนุญาตฆ่าตามหลักศาสนาเช่น มด ผึ้ง และนกหัวขวาน สัตว์น่ารังเกียจ สัตว์ที่ไม่เชือดตามหลักศาสนา เลือด รวมทั้งอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ และสัตว์ลักษณะเดียวกับลา
พืชและเครื่องดื่มทุกชนิดที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์สามารถบริโภคได้เช่นกัน แต่ถ้าสิ่งดังกล่าวปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรก (นะญิส) ซึ่งหมายถึง สิ่งสกปรกตามหลักศาสนาอิสลาม คือสุนัข สุกร สุรา ซากสัตว์ (สัตว์ไม่ได้เชือดตามหลักการอิสลามยกเว้นปลาและตั๊กแตน) เลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง สิ่งขับถ่าย นมลา นมแมว นมสุกรจะกลายเป็นอาหารต้องห้ามทันที


th.wikipedia.org/wiki/